จริงนะ..จริงนะ..ตับเสื่อมก่อโรค?

ผมเคยได้ยินคนไข้มาหาหมอพูดกันบ่อยๆมากเกือบทุกรายที่เข้ามาตรวจ

“เมื่อก่อนกินมากกว่านี้ไม่เห็นเป็นไร พอตอนนี้ไม่สบายบ่อยจัง ”
หรือไม่มักจะบอกว่า
“ที่คนอื่นๆไม่เห็นเป็นไร ทำไมเราเป็นโน่นเป็นนี่ประจำ “

รู้ไหมครับว่า…พออายุคนเราย่างเข้า 40 ปี ตับเริ่มมีอาการผิดปกติ เพราะเริ่ม
มี ความเสื่อม ของตับ จะเริ่มมีอาการ  ” ตับกึ่งแข็งแรง ”
(มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ตับ)

อาการไม่สบายเหล่านี้พบความผิดปกติได้   แต่จะเหนื่อยเพลียง่าย  ทำงาน
ไม่ทนเหมือนก่อน ถึงเวลาอาหาร หรือกินข้าวผิดปกติเวลาจะหมดแรงเอาดื้อ
พอกินข้าวเข้าไปจะรู้สึกดีหายเพลียสดชื่นขึ้น บอกได้ว่า

ถ้า “หลังกินข้าว” แล้ว “ง่วงนอน” นั้นแหลนะ “ม้าม” อ่อนแอ
ถ้า “หิวแล้วง่วง” หมดแรง แสดงว่า “ตับอ่อนแอ” เรียกว่า ตับบกพร่อง

อาการตับกึ่งแข็งแรง เกิดจากสมรรถภาพการทำงานของตับลดลง ตับอ่อนแอ
แต่เซลล์ตับ ยังไม่มีความเสียหาย และ ถูกทำลาย ในช่วงเวลานี้ สามารถกลับ
คืนสู่ปกติได้ แต่ถ้าละเลยดูแลไม่ถูกต้องจะลุกลามกลายเป็นโรคตับได้แน่นอน

ผมว่าควรสำตรวจอาการตับเข้าสู่ภาวะ”ตับกึ่งแข็งแรง”
1. อารมณ์ปรวนแปร โมโหง่าย หงุดหงิด ชอบถอนใจบ่อยๆ
2. เสียดแน่นชายโครง ท้องอืดแน่น เบื่ออาหาร ท้องรั่ง ถ่ายเหลว
3. นอนไม่หลับหลับ หลับตอนตอนหัวค่ำไปตื่นตี 2 ตี 3 ฝันมากปวดเมื่อย
เอวและเข่า

4. หนักเนื้อหนักตัว อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง จิตใจไม่ผ่องใส อารมณ์ไม่
ปลอดโปร่ง
สลึมสลือ ชอบนอน
5. เวียนศรีษะ หน้ามืด
6. ปวดศรีษะ  หน้าแดง  ตาแดง  หัวตาและหางตามีเส้นเลือดขึ้นมองเห็น
ได้ชัดเจน

7. คอแห้ง ปากขม หูุอื้อเหมือนมีเสียงอึกทึก
8. ตาแห้ง ผืด
9. ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ร้อนละอุทั้งตัว เหงื่อออกกลางคืน
10. หน้าชีดไม่ผ่องใส เล็บมือแห้ง ขอบเล็บเป็นขุย
11. ตาแฉะ ถ้ากินอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะมีน้ำตาหล่อที่ดวงตา สายตาลดลง

อาการ “ตับกึ่งแข็งแรง”สามารถเกิดกับท่านได้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เรา
สามารถดูแล 
ตัวเราเองได้ หลีกเลี่ยง ป้องกันความเสื่อมที่เกิดขึ้นช้าลงได้

ผมอยากบอกทุกคนที่สนใจเข้ามาอ่านบทความนี้ว่า การสร้างภูมิต้านคุ้มกัน
ให้กับร่างกายสามารถทำได้ ตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอให้มีเงินทองมากมาย โดย
การ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน  อย่าละเลยกับอาการเพียงเล็กน้อย  ค่อยเติม
อาหารสุขภาพ ชลอความเสื่อมของตับได้ครับ…


 

ขอบคุณข้อมูลดีจาก
– ที่ปรึกษาคุณหมอใจบุญ(ทำไม่หวังสิ่งตอบแทน)
– ภาพสวยๆจากอินเตอร์เน็ต