ฝุ่นละออง ภัยร้ายก่อมะเร็งปอด และ 4 วิธีการรักษา
ฝุ่นละออง ภัยร้ายก่อมะเร็งปอด และ 4 วิธีการรักษา
ในปัจจุบัน หลายครั้งที่ได้ยินข่าวที่รายงานว่าค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และก็คงทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานเหล่านี้ จะทำให้เราเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดด้วยรึป่าว
ฝุ่นละอองเกี่ยวอะไรกับการเป็นมะเร็งปอดล่ะ เนื่องจากฝุ่นละอองมีอนุภาคของแข็งขนาดเล็ก ที่อยู่ทั้งในน้ำและในอากาศ ฝุ่นละอองจะถูกสูดเข้าไปกับลมหายใจ ก็จะผ่านหลอดลมใหญ่ หลอดลมเล็ก หลอดลมฝอยเข้าสู่ถุงลมปอด เช่นเดียวกับลมหายใจปกติ บางครั้งฝุ่นละอองไม่ได้ถูกขับออกมาพร้อมกับลมหายใจออกทั้งหมด แต่จะมีบางส่วนที่เกาะติดแน่นกับผนังหลอดลมและอุดอยู่ในถุงลมปอด
เมื่อหายใจเอาฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศเข้าไปเป็นจำนวนมาก และเป็นเวลานานก็จะทำให้ทางเดินอากาศที่เป็นทางเข้าออกของลมหายใจก็จะสกปรก ตีบตัน การเข้าออกของลมหายใจก็ลำบาก โดยเฉพาะลมหายใจออก ทำให้มีลมหายใจค้างอยู่ในปอด เกิดภาวะปอดพองลม การหายใจหรือการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะถูกผลกระทบ เมื่อมีออกซิเจนเข้าไปในร่างกายน้อยลง ก็จะทำให้เหนื่อยง่ายไม่มีแรง อีกทั้ง เมื่อฝุ่นละอองจับเกาะอยู่ในหลอดลมก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อ เราเรียกว่าการอักเสบ เมื่อหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้
กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง ว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะริมถนนเกิดจากควันดำของรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลถึง 40% ซึ่งมีสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ด้วยมีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) และมีแนวโน้มที่ค่าฝุ่นละอองจะเพิ่มสูงขึ้น
การที่ฝุ่นละอองมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเราจึงต้องหาทางป้องกัน เพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งปอด ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากากอนามัย
แต่ถ้าเราเป็นมะเร็งปอดแล้วล่ะ เราจะทำอย่างไร??
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาขนาด ตำแหน่ง และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
1. การผ่าตัด (Vivisection)
เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด โดยส่วนมากไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
2. การฉายรังสี (Radiotherapy)
เป็นการใช้ฉายพลังงานรังสีที่มีความเข้มข้น ไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ซึ่งใช้ไม่ได้ผลกับระยะที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว
การฉายรังสีไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด และใช้เวลาไม่นาน แต่อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กลืนลำบาก ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
3. การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
เป็นการใช้ยาในการยับยั้งและกำจัดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอด มักใช้ในรูปแบบของการฉีดยาเข้าเส้นเลือด แต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก