เนื้องอกในสมอง มีทางออกด้วย UMI
เนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองเป็นภาวะที่มีการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ในสมอง เนื้องอกในสมองอาจเป็นเนื้องอกธรรมดา (Benign) หรือเป็นมะเร็ง (Malignant) ทั้งสองชนิดสามารถลุกลามในสมองเองจนเป็นอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการต่อผู้ป่วยได้ พบได้ประมาณร้อยละ 1.67 ของโรคมะเร็งทั้งหมด พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่จะพบมากใน 2 ช่วงอายุคือ อายุ 5 – 9 ปี และ 50 – 55 ปี ซึ่งถ้าในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กเนื้องอกในสมองถือเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ส่วนในผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุ อาจเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ หรือเป็นเนื้องอกที่แพร่กระจายมาจากที่อื่น (เช่น ปอด เต้านม ไต ต่อมไทรอยด์ กระเพาะลำไส้)
สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกสมองส่วนใหญ่นั้นปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่มีเนื้องอกในสมองส่วนน้อยบางส่วนที่ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์เนื้องอกสมองของผู้ป่วย นอกจากนี้อาจมีปัจจัยภายนอกบางอย่างที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ เช่น เคยได้การได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะมาก่อน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเนื้องอกสมองได้มากกว่าคนทั่วไป เป็นต้น
อาการเนื้องอกในสมอง
เนื้องอกในสมองจะมีอาการได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งเนื้องอกในสมองนั้น จะทำให้สมองส่วนใดผิดปรกติไปจากเดิม เช่น ถ้าเกิดในตำแหน่งที่ควบคุมการทรงตัว ในเด็กจะมีอาการเดินเซ และหกล้มบ่อย ในรายอื่นๆอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก, อาการตาเข, ตากระตุก, ปากเบี้ยว หรืออาการชักเกร็งหรือกระตุก อาการจะมีมากขึ้นถ้าก้อนเนื้องอกโตมากหรือโตเร็ว เป็นต้น
อาการเนื้องอกในสมองโดยทั่วไป
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว โดยมีลักษณะเฉพาะคือ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายๆอาการจะดีขึ้น หรืออาจปวดมากเวลาล้มตัวลงนอน หรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งอุจจาระ อาการปวดศีรษะจะรุนแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้งตื่นตอนเช้ามืด ต่อมาจะมีอาการอาเจียนร่วมกับอาการปวดศรีษะ อาจมีลักษณะอาเจียนพุ่งรุนแรง โดยไม่มีอาการคลื่นไส้นำมาก่อน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการตามัวลงเรื่อยๆ เห็นภาพซ้อน หูอื้อ ตาเหล่ ตากระตุก วิงเวียน เดินเซ มือเท้าทำงานไม่ถนัด แขนขาชาหรืออ่อนแรง และอาการชัก ซึ่งอาจชักทั้งร่างกายหรือเฉพาะส่วนของร่างกาย ความจำเสื่อม มีบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม ในรายที่เป็นเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (Pituitary tumor) นอกจากจะมีอาการดังกล่าวแล้ว ถ้าพบในผู้หญิงอาจทำให้เป็นประจำเดือนไม่มา มีน้ำนมออกผิดธรรมชาติ (Galactorrhea) หรือมีอาการของโรคคุชชิงร่วมด้วย
การรักษาเนื้องอกในสมอง
การรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธีหลักๆคือ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยา ในบางครั้งอาจจะต้องใช้หลายๆวิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด
1. การผ่าตัด
เป็นวิธีหลักของการรักษาเนื้องอกในสมองส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเจาะดูดเอาเนื้องอกมาตรวจวินิจฉัย ผ่าตัดเนื้องอกออกบางส่วนหรือผ่าตัดเนื้องอกออกทั้งหมด ถ้าเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำผ่าตัดออกได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
ในปัจจุบันมีการทำผ่าตัดโดยจุลศัลยกรรม (Microneurosurgery) ทำให้สามารถมองเห็นจุดเล็กๆในสมองส่วนที่อยู่ลึกได้ มีการนำเครื่องนำวิถี (Navigation) มาใช้เพื่อช่วยให้การผ่าตัดสมองมีความแม่นยำมากขึ้น มีการทำผ่าตัดร่วมกับเอกซเรย์แม่เหล็กในห้องผ่าตัด (Intraoperative MRI) เพื่อช่วยให้ผ่าตัดเนื้องอกออกมาได้มากขึ้น หรือมีการทำผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Neuroendoscopic surgery) เพื่อช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และในบางครั้งเนื้องอกในสมองอาจอยู่ในตำแหน่งที่มีอันตรายต่อการทำผ่าตัด และอาจมีการผ่าตัดโดยที่ผู้ป่วยยังคงรู้ตัวไม่สลบระหว่างผ่าตัด เพื่อที่แพทย์จะสามารถหาตรวจหาตำแหน่งการทำงานของสมองไปได้ด้วยระหว่างการผ่าตัด (Awake craniotomy and brain mapping)
ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาในอนาคตอาจจะมีอุปกรณ์และเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น
2. การฉายรังสี
การฉายรังสีมักจะใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัดเนื้องอกในสมองแล้ว และบางอย่างที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด ในบางกรณีสามารถใช้เป็นวิธีการรักษาหลักได้อีกด้วย การฉายรังสีรักษาเนื้องอกในสมองนั้นปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำเทคนิคการฉายรังสีวิธีใหม่ที่เรียกว่า การฉายรังสีรักษา 3 มิติมาใช้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีได้ตามรูปร่างของก้อนเนื้องอก ทำให้ได้ปริมาณรังสีรวมสูงสุดอยู่ที่ก้อนเนื้องอกเพียงตำแหน่งเดียว โดยที่สมองส่วนอื่นๆ ได้ปริมาณรังสีน้อยมาก เทคนิคนี้ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณรังสีที่ก้อนเนื้องอกได้สูงขึ้นมาก ซึ่งในบางครั้งอาจจะสามารถฉายรังสีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (Radiosurgery) และนับเป็นความก้าวหน้าทางรังสีรักษาในการรักษาเนื้องอกในสมองในขณะนี้
3. การให้ยา
เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงบางชนิดสมควรได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด และเนื้องอกในสมองของต่อมใต้สมองบางชนิดสามารถรักษาโดยการให้ยาควบคุมการสร้างฮอร์โมน ปัจจุบันยาเคมีบำบัดบางตัวมีราคาแพงมากและไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคมหรือบัตรทอง จึงเป็นอุปสรรคทำให้ภาระค่าใช้จ่ายไปตกอยู่ที่ผู้ป่วย หรือทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้
ขอบพระคุณสุดยอดข้อมูลจาก : IO Society [ http://www.iosociety.com/อาการเนื้องอกในสมอง ]
ถามตอบเรื่องเนื้องอกในสมอง
ถาม. เนื้องอกสมองมีกี่ชนิด
ตอบ เนื้องอกสมองมีหลายชนิด โดยใช้เกณฑ์การแบ่งขององค์การอนามัยโลก ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกเนื้องอกสมองแบ่งคร่าว ๆ ประมาณ 120 ชนิด อาจจะแบ่งออกเป็น 1. ชนิดเนื้องอกของตัวสมองเอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด 2.ชนิดของเนื้องอกของอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ และลุกลามมาที่สมอง เช่น เนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง หรือ เนื้องอกของบริเวณฐานกะโหลกศีรษะและลุกลามเข้าไป อีกกลุ่มหนึ่งจะได้แก่ เนื้องอกของเส้นประสาทต่าง ๆ กลุ่มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วลุกลามไปในสมองด้วยเช่นกัน ชนิดที่เราพบบ่อย ก็คือ ชนิดของเนื้องอกที่เป็นมะเร็งของอวัยวะอื่น และกระจายมายังสมอง
ถาม. สาเหตุที่ก่อให้เกิดเนื้องอกสมอง
ตอบ เนื้องอกสมองก็เหมือนเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ที่พบในร่างกายของเราส่วนใหญ่เรามักไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า ทำไมคนไข้จึงเป็นเนื้องอกสมองชนิดนั้น ๆ แต่มีคนไข้บางส่วนที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม หรือ เกิดขึ้นจากการได้รับฉายแสงในวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่จะทราบสาเหตุของการเกิดโรค สมมุติฐานในปัจจุบัน เราคิดว่าเป็นเรื่องของยีนส์บางตัวที่ทำหน้าที่ กด เนื้องอกไม่ให้มันโตขึ้นมา ยีนส์เหล่านั้นมีข้อบกพร่อง จึงทำให้เกิดเป็นโรคเนื้องอกสมองขึ้นมา
ถาม. ปัจจุบันพบผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด
ตอบ เนื้องอกสมองสามารถพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก จนกระทั้งวัยชรา ส่วนใหญ่เราจะพบในวัยผู้ใหญ่ เนื้องอกสมองโดยรวม เราพบน้อยกว่าเนื้องอกชนิดอื่น เช่น เนื้องอกปอด เนื้องอกปากมดลูก เนื้องอกเต้านม เราพบในสัดส่วนที่น้อยกว่า แต่อย่างไรก็มีความสำคัญ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมร่างกายทั้งหมดเมื่อคนไข้มีความพิการจากเนื้องอกสมองขึ้นมา จะทำให้เกิดความพิการ
ถาม. ลักษณะอาการผิดปกติของโรคเนื้องอกสมองเป็นอย่างไร
ตอบ ลักษณะอาการผิดปกติของโรคเนื้องอกสมองสามารถแสดงอาการได้หลายรูปแบบแต่
1. ซึ่งค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ก็คือ อาการที่เป็นอยู่จะค่อย ๆ ทรุดลงตามเวลา เนื่องจากเนื้องอกที่เป็นสิ่งที่ เพิ่ม หรือ ขยายตัวตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอาการก็จะทรุดลงเรื่อย ๆ คนไข้อาจจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ในลักษณะอื่น ๆ คนไข้อาจจะมาด้วยเรื่องของอาการชัก คนไข้ ซึ่งไม่เคยชักมาก่อนเลย อยู่ ๆ ก็มีอาการชักมา ก็อาจจะมีสาเหตุการเนื้องอกสมองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เนื้องอกสมองที่ในตำแหน่งต่าง ๆ กัน ก็จะไปกดทำลายสมองส่วนนั้น ๆ ให้มีความพิการในส่วนนั้น ทำให้มีอาการเฉพาะ อยู่ที่ว่าก้อนเนื้อไปกดที่ส่วนไหน ถ้าไปกดส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อแขนขา ก็อาจจะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา ถ้าไปกดทำลายส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการพูดคุย คนไข้ก็จะสูญเสียความสามารถในการรับรู้
การเขียนอ่าน หรือ การพูดคุย ถ้าไปทำลายเกี่ยวกับการทรงตัว คนไข้อาจจะมีอาการเดินเซ พบมากในคนไข้เด็ก หรือ ถ้าไปกดเบียดเส้นประสาทตา คนไข้ก็จะมีอาการตามัว อาการจะขึ้นอยู่ว่าอยู่ตำแหน่งใด แต่ส่วนมากคนไข้จะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน แพทย์จะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร ถ้าสงสัยว่าคนไข้จะมีเนื้องอกในสมอง แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายคนไข้ แพทย์ก็จะได้ข้อมูลเบื้องต้นว่าคนไข้จะเป็นเนื้องอกสมองหรือไม่ ในกรณีที่สงสัยแพทย์ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น อาจจะส่งตรวจคอมพิวเตอร์สมองหรือเอ็กเซย์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง
ถาม. วิธีการรักษาในปัจจุบันอย่างไร
ตอบ วิธีการรักษาเนื้องอกสมองในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ
คือ 1. การทำผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแล้วในคนไข้ส่วนใหญ่
2. การฉายรังสี
3. การให้ยาเคมีบำบัด
ในคนไข้แต่ละรายอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด
ถาม. มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
ตอบ อย่างที่เรียนให้ทราบว่าเนื้องอกสมองนั้นมีหลายชนิด บางชนิดมีขอบเขตชัดเจน หมอผ่าตัดสามารถผ่าตัดเนื้องอกได้หมด ในกรณีนั้นจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ในกรณีของมะเร็ง เนื้องอกกระจัดกระจายได้สามารถตัดออกได้หมด แพทย์สามารถผ่าตัดออก เพื่อบรรเทาอาการให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ไม่หายขาด สรุปว่า บางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ , บางชนิดก็ไม่สามารถรักษาได้
ถาม. อันตรายจากโรคนี้มีมากน้อยเพียงใด
ตอบ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ ดังนั้น เนื้องอกสมองไม่ว่า จะเป็นเนื้อดีหรือร้าย ถ้าไม่ได้รับการรักษา คนไข้จะเสียชีวิต จึงถือว่าเป็นโรคที่อันตรายโรคหนึ่ง แต่ปัจจุบันก็สามารถรักษาให้หายได้
ถาม . พบปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่
ตอบ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก่อนการรักษา เช่น คนไข้อาจจะมีภาวะพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ก่อนที่จะเข้ารับการรักษา ในกรณีสามารถรักษาให้ดีขึ้น หรือ หายขาด ผลการรักษาจะได้ผลดีขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก และ เนื้องอกที่เกิดขึ้นทำงายสมองไปมากน้อยเท่าใด
2. เป็นผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษา การรักษาทุกวิธีไม่ว่าจะเป็นการฉายแสง การทำผ่าตัด หรือการใช้เคมีบำบัด อาจจะมีผลแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผลแทรกซ้อนจากการรักษาจะต่ำกว่าผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นถ้าเราปล่อยเนื้องอกไว้โดยที่ไม่ทำอะไรเลย
ถาม. วิธีการดูแลตนเองของผู้ป่วย
ตอบ 1. คนไข้ควรจะเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์กำหนดไว้ เนื่องจากมีคนไข้บางกลุ่มที่มีทัศนคติที่นัดเกี่ยวกับการรักษา เช่น เชื่อว่าการฉายแสงจะทำให้เนื้องอกลุกลามมากขึ้น หรือ ร่างกายอ่อนแอลง ซึ่งคนไข้ควรจะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่และในภายหลังการรักษา คนไข้ควรทำกายภาพบำบัดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่สูญเสียไป ฟื้นตัวกลับมาเร็วขึ้น และภายหลังจากการรักษาแล้ว แพทย์อาจจะนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ เพราะเนื้องอกบางอย่างที่ผ่าตัดไปหมด มีโอกาสที่จะงอกออกมาใหม่ได้อีก
ถาม. วิธีการป้องกันโรคควรทำอย่างไร
ตอบ ปัจจุบันเนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นในเนื้อสมองโดยตรง ส่วนใหญ่เราไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ดังนั้นในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกัน แต่อย่างไรก็ตามมีเนื้องอกสมองบางชนิด ที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น ๆ มาที่สมองแล้วเราทราบสาเหตุ ยกตัวอย่าง เช่น มะเร็งปอดที่เราพบบ่อยว่าจะกระจายมาที่สมองในกรณีนี้ถ้าเราหลีกเลี่ยงภาวะเสียงที่จะทำให้เกิดมะเร็งปอด เช่น งดสูบบุหรี่ เราก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้น้อยลง
ถาม ข้อแนะนำช่วงท้ายรายการ
ตอบ เนื้องอกสมองจำนวนหนึ่งเราสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มีภาวะความเจ็บป่วยที่พิกลพิการจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากญาติ ๆ ในครอบครัว การสนับสนุนทางด้านกำลังใจ ทางด้านกายภาพต่าง ๆ การพาผู้ป่วยไปตรวจเป็นระยะ ๆ หรือ การพาผู้ป่วยไปทำกายภาพบำบัดจากการสนับสนุนของครอบครัวจะทำให้คนไข้มีอาการที่ดีจนกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม
ขอขอบพระคุณสุดยอดข้อมูลจาก :
อ.นพ.ศรัณย์ นันทอารี
สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
[ http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=101 ]
UMI ช่วย เนื้องอกในสมองอย่างไรละ คุณหมอมีคำตอบ
ประสบการณฺ์จากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
คุณวรศชญาณ์ สัตยาภูมิพัฒน์ (นิสิต)
คุณแม่ของคุณวรศชญาณ์ในวัย 67 ปี ได้ป่วยเป็นมะเร็งระยะแรก ไม่กล้าที่จะทำการผ่าตัด ต่อมาได้ทดลองทานผลิตภัณฑ์ของอาเจล ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจึงมีสุขภาพจิตใจที่ดีตามมา เมื่อร่างกายและจิตใจดีขึ้นจึงได้เข้ารับการผ่าตัดเนื้อร้ายออกไปจากร่างกาย และได้ทำคีโมถึง 6 ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่ทำคีโมก็ได้รับประทานผลิตภัณฑ์อาเจล UMI และตัวอื่นๆ ไปพร้อมกันด้วย จนคุณหมอบอกว่าไม่จำเป็นต้องทำคีโมอีกต่อไปแล้ว หนึ่งปีผ่านมา สุขภาพร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใส จนได้รับคำชอบจากคนรอบข้าง
UMI GRN EXO ช่วยยับยั้งเซลล์เนื้องอกในสมองให้ผ่อตัวยุบลง และไม่ต้องผ่าตัด