หม้อที่ใช้ปรุงอาหารปลอดภัยจริงเหรอ…
อันตรายจากภาชนะหุงต้มในครัว
ในยุคสมัยข่าวสารเผยแพร่เร็ว มีคนจำนวนมาก..เลยที่เดี่ยวที่รักสุขภาพ ทำให้
คนเรากลัวสารพิษปนเปื้อนมากับอาหาร แต่สารพิษที่เราได้รับ เกิดจากภาชนะ
ในครัวเรือนที่เราใช้อยู่ทุกวัน…หลายปี หลายปีที่ผ่านมา ได้มีนักวิจัย ได้ออก
มาเตือน…ผู้บริโภคว่า “อะลูมิเนียม” อาจมีส่วนที่ทำให้เกิด “โรคสมองเสื่อม
อัลไซเมอรส์” ทำให้ผู้บริโภค หลาย ๆ ครอบครัวโยนหม้อ-กระทะ ที่ทำจาก
“อะลูมิเนียม” ทิ้งไปเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันพบว่า
อะลูมิเนียม ที่ละลายออกมาปนเปื้อน ในอาหารมีปริมาณเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่
ก่อให้เกิด อันตราย ต่อสุขภาพ การใช้ภาชนะ อะลูมิเนียมหุงต้มอาหาร จึงค่อนข้างปลอดภัย…
ภาชนะที่ทำจากสเตนเลส
สเตนเลสมีส่วนผสมของโลหะหลายชนิด นิกเกิล โครเมียม เหล็ก โมลิบเดนัม
ผลการวิจัยพบว่าเครื่องครัว ที่ทำจาก”สเตนเลส” อาจให้ประโยชน์ ต่อร่างกาย
เพราะสเตนเลสมีส่วนผสมของโครเมียมและธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อนำมาใช้ หุงต้ม ก็จะมีธาตุ เหล่านั้นออกมาปะปน ในอาหารเพียง
เล็กน้อย จึงไม่เป็นอันตราย ต่อ ร่างกาย แต่ กลับ ให้ประโยชน์ ต่อผู้ที่ขาดโครเมียม และ ธาตุเหล็ก แต่ขณะเดียวกันสารนิกเกิล อาจจะเป็นสาเหตุทำให้
เกิดอาการ ของผิวหนังได้ อย่างไรก็ตาม สารนิกเกิล ก็จะละลาย ออกมาใน
อาหารที่มีเครื่องปรุงรส ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เวลาใช้น้ำส้มสายชู ซอสมะเขือเทศ
คนที่มีอาการแพ้สารนิกเกิล ก็อาจเลือกใช้ภาชนะ สเตนเลสเคลือบสารอีนาเมล เป็นสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา กับ อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
ภาชนะที่ทำมาจากทองแดง
ทองแดง เป็นตัวรับความร้อนได้ดี ถ้านำมาปรุงอาหาร ทำให้มีฤทธิ์ เป็นกรด
ทำให้ทองแดง ละลายออกมา การได้รับทองแดง ปริมาณเล็กน้อย ไม่ก่อให้
เกิดปัญหา ต่อ สุขภาพ แต่ ถ้าร่างกาย สะสมทองแดง มากเกินไป ในเลือด
เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน จาก ทองแดง เป็นพิษได้ เพื่อป้องกัน ปัญหา
ภาชนะ ทำจากทองแดง จึงใช้ดีบุกเคลือบ แต่ดีบุกก็เสื่อมไปตามอายุการ
ใช้งาน การใช้ไปนาน ๆ ก็ควรจะมีการเปลี่ยนหม้อใหม่….
ภาชนะที่เคลือบสารเทฟลอน
สารชนิดนี้ช่วยป้องกัน การติด ของ อาหาร ยัง ทำความสะอาด ง่าย ช่วยลด
ปริมาณไขมัน ในการปรุงอาหาร ได้ด้วย ภาชนะไม่ เคลือบเทฟลอน จะต้อง
ใช้น้ำมันมากขึ้น เวลาผัด เวลาทอด เพื่อไม่ให้ อาหาร ติดกระทะ*หากมีหลุด
การลอกของสาร ที่ เคลือบปะปนกับอาหาร ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
เป็นสารที่ไม่เป็นพิษ ร่างกายไม่ สามารถดูดซึมเข้าไปได้ และ จะถูกขับถ่าย
ออกมาได้
ภาชนะเซรามิก
ภาชนะชนิดนี้มีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่ หากมีอยู่ในปริมาณที่มากเกินไปจะ
เป็นอันตรายได้ เมื่อนำไปใส่อาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
มีข้อเตือนว่าไม่ควรใช้ภาชนะประเภทนี้กับ กาแฟร้อน ชาร้อน ซุปมะเขือเทศ
และน้ำผลไม้เพราะจะทำให้สารตะกั่วละลายออกมาได้
สารตะกั่ว
สารตะกั่วเป็นอันตรายต่ออวัยวะ และ ระบบต่างๆ ของร่างกาย มีตับ ไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหมุนเวียนโลหิตหัวใจ ระบบภูมิต้านทาน ระบบย่อยอาหาร
สารตะกั่ว จะถูกดูดซึมเข้าไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในกระดูกจะสะสมปน กับ แคลเซียม ร่างกายไม่สามารถจะแยกสารตะกั่วกับแคลเซียมได้
ถ้าสารตะกั่วสะสมปริมาณมาก ทำให้เกิดพิษได้ ถ้าเกิดในเด็กสารตะกั่ว จะทำลายเซลล์สมอง ยับยั้งการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแคระแกรนตายในที่สุด
**เพื่อความปลอดภัย สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ภาชนะเซรามิกบรรจุเก็บรักษาอาหาร หรือ แม้กระทั่งเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน
**ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการใช้ภาชนะ
1. หลีกเลี่ยงการ เก็บรักษาอาหาร เป็นเวลานาน ๆ ในภาชนะหุงต้ม เมื่อปรุง
อาหารเสร็จ อาหารที่เหลือ ควรเก็บไว้ในภาชนะพลาสติก หรือ ภาชนะที่ทำ
ด้วยแก้ว
2. ทำความสะอาดภาชนะตามคำแนะนำของผู้ผลิต หลีกเลี่ยงการขัดถูที่จะ
ทำให้ผิวหน้าของ ภาชนะถลอกหรือหลุดลอก
นวัตกรรมใหม่ของ สาร อาหารสุขภาพ สาร สกัดจากธรรมชาติ 100 % สามารถ
ดูดซึมเข้า สู่ร่างกายได้อย่างเต็มที่ สารออกฤทธิ์เร็ว รับประทานง่าย