Hypertension

……ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

…… เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

……โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มอย่างช้าๆทำให้ร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดปรับตัวทันจึงไม่มีอาการ ผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมาด้วยโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้วัดความดันทุก 2 ปีสำหรับคนที่ความดันโลหิตปกติ อาการที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่ ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล มึนงง( Dizziness) ตามัว เหนื่อยง่าย หายใจหอบ แน่นหน้าอก

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่

……โรคความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุ Primary hypertensionหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุด กลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดมักจะมีสาเหตุหลายองค์ประกอบรวมกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 95 เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มความดันโลหิตสูงนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้

……การรับประทานอาหารเค็มซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับประทาน อาหารเค็ม จะมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง แนะนำว่าคนปรกติไม่ควรที่จะรับประทานเกลือเกิน 3.8 กรัมต่อวัน

……กรรมพันธุ์ เชื่อว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อระบบฮอร์โมนทำให้มีการหลั่งสารเคมีมากไป Renin angiotensin มากทำให้ความดันโลหิตสูง

……ความผิดปรกติของหลอดเลือดเนื่องมาจากโรคอ้วน อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

……โรคความดันโลหิตที่ทราบสาเหตุ Secondary hypertensionเป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

……โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง

……เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน  hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น

……โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

……ยาคุมกำเนิดยาโคเคน ยาบ้า

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

……แม้ว่าความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้กับทุกคน แต่มีบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง กว่ากลุ่มอื่น

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ได้แก่

……ประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ

……อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง เมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี

……เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว

ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ได้แก่

……น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เมื่อลดน้ำหนักความดันจะลดลง

……เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง

……การขาดการออกกำลังกายความเครียดความดันโลหิตสูงการสูบบุหรี่ไขมันในเลือดสูงเบาหวาน

การรักษาโรคความดันโลหิต

……วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง นอกเหนือจากการใช้ยา สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

……ตามแนวทางการรรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏบัติทั่วไป พ.ศ.2555 มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

……1. การลดน้ำหนัก โดยให้ดัชนีมวลกาย เท่ากับ 18.5 ถึง 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 5 ถึง 20 มิลลิเมตรปรอท ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม

……2. การรับประทานอาหารประเภท DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension) โดยให้รับประทานผัก ผลไม้ ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 8 ถึง 14 มิลลิเมตรปรอท

……3. การจำกัดเกลือในอาหาร โดยให้รับประทานเกลือโซเดียม ให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมลต่อวัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 8 มิลลิเมตรปรอท

……5. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวัน จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 4 ถึง 9 มิลลิเมตรปรอท

……6. การลดการดื่มแอลกอฮอล์ โดยจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 2 ดริ้งค์ต่อวัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 ดริ้งค์ต่อวันในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย

……หมายเหตุ 1 ดริ้ง เทียบเท่ากับ 44 มิลลิลิตร ของสุรา (40 เปอร์เซ็นต์) , 355 มิลลิลิตรของเบียร์ (5 เปอร์เซ็นต์) , หรือ 148 มิลลิลิตรของเหล้าองุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) จะมีประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตซิสโตลิก ได้ 2 ถึง 4 มิลลิเมตรปรอท.

โรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

หลอดเลือดแดงแข็ง arteriosclerosis

……ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่งของการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง และตีบหาก โดยมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด หากไขมันในเลือดสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงตีบเร็วขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไปพอเกิด โรคหัวใจหรือโรคอัมพาต อ่านเรื่องหลอดเลือดแดงแข็ง

การเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน heart attack

……การเกิดโรคหัวใจแบบปัจจุบันอาจจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งจะมีอาการที่สำคัญคือเจ็บหน้าอก (อ่านเรื่องโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด) หรือหมดสติ หรืออาจจะมีอาการใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นผิดปกติ บางท่านอาจจะมาด้วยหัวใจเต้นสั่นพริ้ว

กล้ามเนื้อหัวใจวาย

……เมื่อความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการหนาตัวขึ้นมา หากหัวใจยังบีบตัวได้ตามปกติก็ไม่มีปัญหา หัวใจวายจะเกิดได้ 2 กรณีคือ กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบตัวได้อย่างเพียงพอ หรือกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถขยายตัวในช่วงคลายตัว diastole ทำให้เลือดกลับหัวใจน้อย อ่านเรื่อง

หัวใจโต

……หัวใจโต ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา และหัวใจโตขึ้น ถ้าหัวใจทำงานไม่ไหวเกิดหัวใจวายได้

โรคไตเสื่อม

……โรคไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ หน้าที่การกรองของเสียจะเสียไปเกิดไตวาย และสามารถตรวจปัสสาวะพบ มีไข่ขาวในปัสสาวะ การรักษาต้องล้างไตหรือเปลี่ยนไต

การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง stroke

……เมื่อหลอดเลือดแดงตีบอาจเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงที่ตีบ [thrombotic stroke] หรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก [hemorrhagic stroke]

ที่มา : แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติที่วไป พ.ศ.2555 โดยสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, กุมภาพันธ์ 2555.